สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ 239 อาคารโรงแรมอรุณสวัสดิ์ ถนนสุขาภิบาล ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
โทรศัพท์ +6639310182
The Arunsawat Hotel, 239 Sukhapihan Road, Wat-mai Sub-district, Muang District, Chanthaburi, Thailand.
Tel:+6639310182
สํานักงานกรุงเทพมหานคร
170 หมู่ 1 ถ. เทพารักษ์ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540
The foundation office in Bangkok:
170 Moo 1, Theppharak Road, Bang Sao-thong Sub-district, Bang Sao-thong District, Samut Phrakan, Thailand 10540.
Tel: +6623154433
Mob: +66898948768
E-mail: thongyut_t@vmcsafetyglass.com
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
การประชุมในวันนี้เป็นการประชุมสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2556 มูลนิธิของเรามีกรรมการทั้งหมด 14 ท่าน มาประชุมครบทุกท่านถือว่าครบองค์ประชุม สาเหตุที่ต้องเรียกประชุมในวันนี้ก็เพราะว่าคณะกรรมการของเราได้บริหารงานมาครบวาระแล้ว 4 ปี ในวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ช่วงนี้อยู่ในการรักษาการอยู่ จึงจำเป็นต้องเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่โดยเร็วเพื่อให้การดำเนินกิจการของมูลนิธิมีความต่อเนื่องซึ่งจะพิจารณากันในระเบียบวาระที่ 3
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2556
ที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
3.1 การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง (ครบวาระ)
ประธาน ตามที่ได้แจ้งให้ทราบแล้วว่ากรรมการมูลนิธิสิ้นสุดวาระลงทั้งหมด และเพื่อให้มีกรรมการมูลนิธิตามจำนวนที่ข้อบังคับกำหนด วิธีการเลือกเป็นไปตามข้อบังคับข้อที่ 11 ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดปัจจุบันเป็นผู้เลือกตั้งกรรมการในตำแหน่งต่าง ๆ โดยถือเสียงข้างมาก ขอให้ที่ประชุมได้เสนอผู้ที่มีความเหมาะสมขึ้นเป็นกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่างลง
ที่ประชุม มีมติเสียงข้างมากเลือกตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นกรรมการมูลนิธิ
-
นาย บุญเอก เรืองกิจเวชเป็นประธานกรรมการ
-
นาย สายันต์ ชื่นเสน่ห์จันทร์เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1
-
นาย สุเทพ กิมกูลเป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2
-
นาย ธเนษฐ พูลชัยเป็นเลขานุการ
-
น.ส. ณัฐชรินทร์ บุญบรรจงเป็นเหรัญญิก
-
นาย ทองยุทธ ทิอุทิศเป็นปฏิคม
-
นาย ปราวุฒิ ครองสวัสดิ์เป็นสังคมสงเคราะห์
-
นาย วิรัชนก อาภรณ์รัตน์เป็นสาธารณกุศล
-
นาย คมจิตร คงคารัตน์เป็นประชาสัมพันธ์
-
นาย อภิรุม อาภรณ์ศรีเป็นกรรมการกลาง
-
นาง ปัทมา พูลชัยเป็นกรรมการกลาง
-
น.ส. มาลี ร่วมมงคลเป็นกรรมการกลาง
2
ประธาน ตามข้อบังคับข้อที่ 9 กำหนดให้มีกรรมการมูลนิธิไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 18 คน เมื่อเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิแล้วจะมีกรรมการทั้งหมด 12 คน ไม่น้อยกว่าและมากกว่าที่ข้อบังคับกำหนดสามารถกระทำได้
ที่ประชุม เห็นชอบ
ประธาน มอบหมายให้ นายบุญเอก เรืองกิจเวช รวบรวมเอกสารที่ยื่นขอจดทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ (ไม่มี)
ประธานกล่าวขอบคุณและปิดประชุม เวลา 16.30 น.
ลงชื่อ นาย ธเนษฐ พูลชัย ผู้จดรายงานการประชุม
(นาย ธเนษฐ พูลชัย)
ลงชื่อ นาย บุญเอก เรืองกิจเวช ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นาย บุญเอก เรืองกิจเวช)
รับรองสำเนาถูกต้อง
(นาย ธเนษฐ พูลชัย)
ตราสาร
มูลนิธิทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการจังหวัดจันทบุรี
ข้อบังคับฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551)
หมวดที่ 1
ชื่อเครื่องหมายและที่ตั้งสำนักงาน
ข้อ 1. มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการจังหวัดจันทบุรี ใช้ชื่อย่อว่า ม.ผศ.จบ. เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า WAR. VETERAN AND EX-SERVICE FOUNDATION OF CHANTHABURI ย่อว่า W.E.F.C.
ข้อ 2. เครื่องหมายของมูลนิธีนี้มีรูปเป็นโล่ ประกอบด้วย พระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงชุดจอมทัพออกศึก ประทับบนหลังม้าแผ่น พระหัตถ์ซ้ายทรงรั้งบังเหียน พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ พร้อมทหารเอกคู่พระทัย อยู่ในวงพระจันทร์เต็มดวง ตอนบนเป็นแพรแถบมีอักษรว่า “มูลนิธิทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการจังหวัดจันทบุรี” เบื้องล่างเป็นช่อชัยพฤกษ์ประดับด้วยรวงข้าว ผลไม้ อย่างเป็นระเบียบ ใต้ช่อชัยพฤกษ์มีอักษรว่า “ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียม” สำหรับพื้นทั่วไปเป็นสีธงชาติไทย
ข้อ 3. สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ 239 อาคารโรงแรมอรุณสวัสดิ์ ถนนสุขาภิบาล ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ
4.1 เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ผ่านศึกและทหารนอกประจำการ
4.2 เพื่อให้การสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาแก่กุลบุตร กุลธิดาของผู้ผ่านศึกและทหารนอกประจำการ
4.3 ร่วมประกอบกิจกรรมอันเป็นการกุศลสาธารณและประโยชน์แก่สังคม
4.4 เพื่อสนับสนุนส่งเสริมเกียรติคุณของผู้ผ่านศึกและทหารนอกประจำการ
4.5 ร่วมมือกับองค์การ การกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
4.6 ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
หมวดที่ 3
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ 5. ทรัพย์สินของมูลนิธิทุนเริ่มแรก คือ เงินสดจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
ข้อ 6. มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีการต่อไปนี้
6.1 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิ ต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาวะติดพันอื่นใด
6.2 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
6.3 ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ
หมวดที่ 4
คุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ
ข้อ 7. กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้
7.1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
7.2 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
7.3 ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ 8. กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
8.1 ถึงคราวออกตามวาระ
8.2 ตายหรือลาออก
8.3 ขาดคุณสมบัติตามตราสารข้อ 7
8.4 เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสียและคณะกรรมการมูลนิธีมีมติให้ออก โดยมี คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการมูลนิธิ
หมวดที่ 5
การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 9. มูลนิธินี้ ดำเนินการ โดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 18 คน ประกอบด้วยตำแหน่งดังต่อไปนี้
ประธานกรรมการ 1 คน
รองประธานกรรมการ 2 คน
เลขาธิการ 1 คน
เหรัญญิก 1 คน
ปฏิคม 1 คน
สังคมสงเคราะห์ 1 คน
สาธารณกุศล 1 คน
ประชาสัมพันธ์ 1 คน
กรรมการกลาง 9 คน
ข้อ 10. ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิเป็นผู้เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรในตราสาร
ข้อ 11. วิธีการเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิให้ปฏิบัติดังนี้
ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่เลือกตั้งประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรในตราสาร
ข้อ 12. กรรมการดำเนินงานมูลนิธิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ข้อ 13. การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิ ให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม
ข้อ 14. กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือโดยการจับสลากในวาระแรก อาจได้รับเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก และในกรณีที่คณะกรรมการต้องออกตามวาระ ถ้ายังมิได้เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ คณะกรรมการชุดเดิมตั้งทำหน้าที่ไปก่อน
ข้อ 15. ถ้าตำแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง กรรมการมูลนิธิผู้ได้รับการตั้งซ่อมอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
หมวดที่ 6
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 16. คณะกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและภายใต้ข้อบังคับตราสารนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
16.1 กำหนดนโยบายของมูลนิธิ และดำเนินงานตามนโยบายนั้น
16.2 ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของมูลนิธิ
16.3 เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงิน และบัญชีงบดุล รายได้ รายจ่ายต่อกระทรวงมหาดไทย
16.4 ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิและวัตถุประสงค์ของตราสารนี้
16.5 ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ
16.6 แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อดำเนินการเฉพาะอย่าง ของมูลนิธิ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
16.7 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นพิเศษ เป็นกรรมการกิตติมศักดิ์
16.8 เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ
16.9 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ
16.10 แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจำของมูลนิธิ มติให้ดำเนินการตามข้อ 16.7, 16.8 และ 16.9 ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุม และที่ปรึกษาตามข้อ 16.9 ย่อมเป็นที่ปรึกษาของ คณะกรรมการมูลนิธิที่เชิญเท่านั้น
ข้อ 17. ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
17.1 เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
17.2 สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
17.3 เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและในการทำนิติกรรมใด ๆ ของมูลนิธิ หรือการลงลายมือในเอกสาร ตราสาร และสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิ หรือผู้ทำ การแทน หรือกรรมการมูลนิธิ 2 คน ได้ลงลายมือชื่อแล้ว จึงเป็นอันใช้ได้
ข้อ 18. ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทำการแทน
ข้อ 19. ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น
ข้อ 20. เลขาธิการมูลนิธิหน้าที่ควบคุมกิจการ และดำเนินการประจำของมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิ และทำรายงานกระประชุมตลอดจนรายงานกิจการของมูลนิธิ
ข้อ 21. เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิตลอดจนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
ข้อ 22. สำหรับกรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด โดยทำเป็นคำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน
ข้อ 23. คณะกรรมการมูลนิธิมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกรรมการ หรืออนุกรรมการอื่น ๆ ของมูลนิธิได้
หมวดที่ 7
อนุกรรมการ
ข้อ 24. คณะกรรมการมูลนิธิอาจแต่งตั้งหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม โดยจะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการประจำ หรือเพื่อการใดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะคราวก็ได้ และในกรณีที่คณะกรรมการมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้งประธานอนุกรรมการ เลขานุการ หรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นไว้ ก็ให้อนุกรรมการแต่ละคณะแต่งตั้งกันเองดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้
ข้อ 25. อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะเสร็จงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ ส่วนคณะอนุกรรมการประจำอยู่ในตำแหน่งตามเวลาที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งและอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับการแต่งตั้งอีกก็ได้ หน้าที่ของอนุกรรมการคือ
25.1 อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย
25.2 อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการมูลนิธิเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
หมวดที่ 8
การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 26. คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี ทุก ๆ ปี ภายในเดือนกุมภาพันธ์และต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ 27. การประชุมวิสามัญอาจมีได้ในเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิหรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทนขอให้มีการประชุมก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้
ข้อ 28. กำหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่กรรมการมูลนิธิจะกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการประชุม ให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเอง และในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประชุม ให้ใช้ ข้อ 26. บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 29. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติที่ประชุมให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อย ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจส่งให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่ประธานกรรมการมูลนิธิต้องรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในคราวต่อไปถึงมติและกิจการที่ได้ดำเนินการไปตามมตินั้น กิจการใดเป็นงานประจำ หรือเป็นกิจการเล็กน้อยหรือไม่ย่อมอยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 30. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการมูลนิธิหรือประธานที่ประชุม มีอำนาจเผชิญหรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้มีเกียรติหรือผู้สังเกตการณ์ หรือเพื่อชี้แจง หรือเพื่อให้คำปรึกษาแก่ที่ประชุมได้
หมวดที่ 9
การเงิน
ข้อ 31. ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือรองประธานกรรมการมูลนิธิในกรณีทำหน้าที่แทน มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน ได้คราวละไม่เกิน 5,000 บาท ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าว ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วน ให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่ายได้ แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมคราวต่อไป
ข้อ 32. เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท
ข้อ 33. เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ์ ต้องนำฝากไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นใดที่รัฐบาลให้การค้ำประกัน แล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ 34. การสั่งจ่ายเงิน โดยเช็คหรือตั๋วสั่งจ่ายเงิน จะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทนกับเลขาธิการหรือเหรัญญิกลงนามทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้
ข้อ 35. ในการใช้จ่ายเงินของมูลนิธิ ให้จ่ายเพียงดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นทุนของมูลนิธิ และเงินที่ผู้บริจาคมิได้แสดงเจตนาให้เป็นเงินสมทบทุนโดยเฉพาะ
ข้อ 36. ให้คณะกรรมการมูลนิธิวางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การทรัพย์สินของมูลนิธิตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในตราสาร
ข้อ 37. ให้มีผู้สอบบัญชีของมูลนิธิ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิเห็นชอบและแต่งตั้งจากบุคคลที่มิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ โดยจะให้ดำรงตำแหน่งกิตติมศักดิ์ หรือได้รับค่าตอบแทนอย่างไร สุดแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนด
ข้อ 38. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของมูลนิธิ และรับรองบัญชีงบดุลประจำปีที่คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ผู้สอบบัญชีมีสิทธิตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และเอกสารดังกล่าวใด
หมวดที่ 10
การแก้ไขเพิ่มเติมตราสาร
ข้อ 39. การแก้ไขเพิ่มเติมตราสาร จะกระทำได้โดยเฉพาะที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุม ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการกำหนด และมติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมตราสาร ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม
หมวดที่ 11
การเลิกมูลนิธิ
ข้อ 40. ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการหรือโดยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ตกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ สมาคมทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการจังหวัดจันทบุรี ถ้าสมาคมทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการจังหวัดจันทบุรีเลิกล้มไปแล้ว ก็ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จังหวัดจันทบุรี เพื่อทำประโยชน์แก่ประชาชนชาวจันทบุรีต่อไป
ข้อ 41. การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิก ด้วยเหตุต่อไปนี้
41.1 เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้ว ไม่ได้รับทรัพย์สินตามคำมั่นเต็ม จำนวน
41.2 เมื่อกรรมการมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ในตราสาร
41.3 เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ
หมวดที่ 12
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ 42. การตีความในตราสารของมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัย ให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 43. ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับ ในเมื่อตราสารของมูลนิธิมิได้กำหนดไว้
ข้อ 44. มูลนิธิจะต้องไม่กระทำการค้ากำไร และจะต้องไม่ดำเนินการนอกเหนือไปจากตราสารที่กำหนดไว้
(ลงนาม) ..................................................ผู้จัดทำตราสาร
(....................................................)
ตำแหน่ง ประธานกรรมการมูลนิธิ
เลขที่ใบอนุญาต8/2556
มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการจังหวัดจันทบุรี ใช้ชื่อย่อว่า ม.ผศ.จบ. เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า WAR. VETERAN AND EX-SERVICE FOUNDATION OF CHANTHABURI ย่อว่า W.E.F.C.
เครื่องหมายของมูลนิธีนี้มีรูปเป็นโล่ ประกอบด้วย พระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงชุดจอมทัพออกศึก ประทับบนหลังม้าแผ่น พระหัตถ์ซ้ายทรงรั้งบังเหียน พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ พร้อมทหารเอกคู่พระทัย อยู่ในวงพระจันทร์เต็มดวง ตอนบนเป็นแพรแถบมีอักษรว่า “มูลนิธิทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการจังหวัดจันทบุรี” เบื้องล่างเป็นช่อชัยพฤกษ์ประดับด้วยรวงข้าว ผลไม้ อย่างเป็นระเบียบ ใต้ช่อชัยพฤกษ์มีอักษรว่า “ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียม” สำหรับพื้นทั่วไปเป็นสีธงชาติไทย
สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ 239 อาคารโรงแรมอรุณสวัสดิ์ ถนนสุขาภิบาล ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
วัตถุประสงค์
-
วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ
-
เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ผ่านศึกและทหารนอกประจำการ
-
เพื่อให้การสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาแก่กุลบุตร กุลธิดาของผู้ผ่านศึกและทหารนอกประจำการ
-
ร่วมประกอบกิจกรรมอันเป็นการกุศลสาธารณและประโยชน์แก่สังคม
-
เพื่อสนับสนุนส่งเสริมเกียรติคุณของผู้ผ่านศึกและทหารนอกประจำการ
-
ร่วมมือกับองค์การ การกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
-
ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
-
ทรัพย์สินของมูลนิธิทุนเริ่มแรก คือ เงินสดจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีการต่อไปนี้
-
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิ ต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาวะติดพันอื่นใด
-
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
-
ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ
Registration No. 8/2013
WEFC Foundation (Chanthaburi Province) with Dharma and meditation center project (Nakhon Phanom Province) will be carried out meditation retreats and other activities to promote Buddhism to the public for both Thais and foreigners.
WEFC Foundation (Chanthaburi Province) with Dharma and meditation center project (Nakhon Phanom Province) will be operated and supported by ordained and lay Buddhists as well as by the public and the local government sector. This support enabled the WEFC Foundation (Chanthaburi Province) with Dharma and meditation center project (Nakhon Phanom Province) to provide a solitude location where practitioners can deepen their meditation practice in a favorable environment.
As a consequence the WEFC Foundation (Chanthaburi Province) with Dharma and meditation center project (Nakhon Phanom Province) will not only able to enhance and expand its capability in promoting Buddhism widely in form of meditation retreats in suitable places, but additionally allow introducing, teaching and practicing activities to preserve the forest and the environment to primary pupils, teenagers, university students, government officers as well as to public and private organizations.
In order to allow more flexibility in supporting and promoting Buddhism and other activities serving the public good, the WEFC Foundation (Chanthaburi Province) with Dharma and meditation center project (Nakhon Phanom Province) applied for establishing the “WEFC Foundation (Chanthaburi Province) with Dharma and meditation center project (Nakhon Phanom Province)”.
The WEFC Foundation has been registered as a Foundation by The Governor of Chanthaburi Province on October 21, 2013, registration no. 8/2556.
Objectives
The objectives of the WEFC Foundation are as follows
1. Support and welfare benefits for the war veteran and ex-service.
1.1 To introduce and promote Dharma and meditation center project (Nakhon Phanom Province) as a place for guiding and training morality;
1.2 to instruct and cultivate moral conduct and virtues amongst the young generation
1.3 to promote the sufficient economy - “to be mindful in consumption”;
1.4 to promote the chemical-free production and consumption of food and other products;
1.5 to promote preserving the natural resources and environment, e.g. the forest, earth, water;
1.6 to support the public health in the way the foundation can do;
1.7 to support or cooperate with other charity organizations to benefit the public.
2. To promote the development of social and economic welfare activities to improve the quality of life of the people and to enable them to become self-reliant.
3. To carry out plans or projects that are beneficial to the people and the country as a whole.
4. To preserve and promote the reputation and honor of the war verteran and ex-service.
5. To co-operate with the government sector and other charity organizations for public benefit or to take action that reinforce support of public welfare.
6. To carry out activities without political involvement.
OUR BRANCHES
เกี่ยวกับมูลนิธิ ABOUT US
ระเบียบวาระ Agenda
นโยบาย Policy

